*** สามารถติดตามเคล็ดลับสุขภาพดีดีที่ไลน์แอดไอดี @HealthyThailand หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40healthythailand อย่าลืมคลิกมีกิจกรรมสนุกๆรับของรางวัลด้วยน้า ^

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เท้าบวม…สัญญาณบอกโรคร้าย

เท้าบวม…สัญญาณบอกโรคร้าย

 เท้าเป็นอวัยวะศูนย์รวมของเส้นประสาททั่วร่างกาย เวลาที่เรามีปัญหาที่อวัยวะไหน การนวดเท้าจึงช่วยผ่อนคลายปัญหานั้นๆได้ ในทางเดียวกัน หากเท้าแสดงอาการผิดปกติออกมาอาการใดอาการหนึ่ง ย่อมหมายถึงความผิดปกติของอวัยวะบางส่วนได้ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น “อาการเท้าบวม” ที่นับเป็นสัญญาณอันตรายก่อนเกิดโรคร้ายอื่นๆ จะมีโรคร้ายอะไรบ้างที่เกิดขึ้นหลังอาการเท้าบวม มาลองหาคำตอบพร้อมวิธีการแก้ไขกันได้เลย
    อาการบวมที่เท้าเกิดจากสาเหตุหลายประการ หากแก้ไขไม่ถูกต้องหรือแก้ไขได้ช้า กว่าจะรู้ตัวก็อาจจะสายเกินแก้ไปเสียแล้ว ดังนั้น หากโรคที่เกิดขึ้นแสดงสัญญาณออกมาด้วยอาการ “เท้าบวม” เราจะต้องระวังว่าอาจจะเกิดโรค 1 ใน 7 โรคนี้ขึ้นมาได้ ดังต่อไปนี้
เท้าบวม...สัญญาณบอกโรคร้าย
ภาพจาก : http://shoeshoptalon.lnwshop.com/article/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93-7-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2 เท้าบวม…สัญญาณบอกโรคร้าย

1. โรคไต

    อาการเท้าบวมที่บ่งบอกถึงโรคไต จะเป็นอาการที่สามารถสังเกตได้เวลาตื่นนอนหรือตกช่วงบ่ายๆ รวมถึงเวลาที่ต้องยืนนานๆ ผู้ป่วยมักจะมีความรู้สึกแรก คือ รองเท้าที่กำลังใส่จะคับขึ้น และเมื่อใช้นิ้วกดลงไปที่เท้าจะเกิดเป็นรอยบุ๋มขึ้น หากเป็นเช่นนี้รีบไปตรวจไตด่วน


       
2. โรคหัวใจ

     เท้าบวมเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจได้อย่างไร? อาการบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานได้ลดลง ทำให้เลือดจากขาไม่สามารถไหลกลับเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก เลือดเลือดไม่ไหลมาจึงทำให้มีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น และเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเท้าบวมนั่นเอง 

       
3. โรคตับ 

    อาการบวมที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคตับ จะไม่ใช่สัญญาณเตือนล่วงหน้าก่อนเกิดโรค แต่มักเกิดขึ้นในช่วงท้ายๆของโรคเสียมากกว่า และสามารถพบได้บ่อยที่สุดในโรคตับแข็งและมะเร็งตับ อาการบวมนี้จะเกิดขึ้นทั้งที่เท้าและทั่วร่างกาย หรือที่เรียกว่า ‘อาการบวมน้ำ (ท้องมาน)’ โดยมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายมีภาวะโปรตีนต่ำในเลือด ทำให้การดึงน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือดเป็นไปอย่างผิดปกติ 

       
4. โรคหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน 

    เป็นอาการเท้าบวมที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่กับการยืนนานๆ อาการนี้จึงมักเกิดขึ้นกับคนที่มีอาชีพยืนเป็นหลัก เช่น พนักงานขาย ครู พยาบาล จราจร แม่ครัว ช่างเสริมสวย เป็นต้น เนื่องจากการยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานๆจะทำให้เลือดไหลไปคั่งที่ส่วนล่างมากกว่าปกติ เลือดเดินทางไม่สะดวก และทำให้เกิดอาการขาบวมหรือเท้าบวมได้ ดังนั้น คนกลุ่มนี้จึงควรนั่งพักหรือนวดเบาๆบ้าง เพื่อทุเลาอาการปวดเมื่อยนี้ออกไป  

    แต่ถ้าเป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากการทำงานของหลอดเลือดดำ ทำให้การไหลเวียนของเลือดกลับสู่หัวใจไม่สะดวก จะทำให้รู้สึกเมื่อยล้า บวม ชา ร้อนวูบวาบ มักเป็นตะคริวในเวลาอากาศเย็นหรือกลางคืน อาการดังกล่าวต้องได้รับการรักษาหลอดเลือดที่ผิดปกติโดยด่วย เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้หลอดเลือดดำเสื่อมสภาพ จนเกิดอาการเส้นเลือดขอด อักเสบ แผลเรื้อรัง หรืออาจเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้


       
5. โรคเท้าช้าง 

    โรคนี้เกิดมาจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายๆครั้ง ซึ่งอาการในระยะแรกจะมีไข้ เกิดจากการอักเสบแบบเป็นๆหายๆอยู่บริเวณท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ อาการอักเสบจะเป็นอยู่ช่วงหนึ่งและจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากปล่อยไว้นานจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวรและผิวหนังก็จะหนาแข็งขึ้น ขาจะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆจนมีลักษณะใหญ่กว่าปกติ
       

เท้าบวม...สัญญาณบอกโรคร้าย

วิธีการรักษาและข้อควรปฏิบัติ 

    เนื่องจากอาการเท้าบวมไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น สิ่งแรกที่คุณต้องทำ คือการตรวจหาสาเหตุของอาการที่เป็นอยู่ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใดกันแน่ โดยอาจใช้วิธีการสังเกตด้วยตัวเอง เช่น ลองกดเท้าดูว่าเจ็บหรือไม่ เท้าบวมบริเวณไหนบ้าง บวมเวลาไหนมากเป็นพิเศษ เป็นต้น จากนั้นจึงไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด ตรวจความดันโลหิต สอบถามการใช้ชีวิตส่วนตัว หรือการตรวจวิธีการอื่นๆตามที่แพทย์วินิจฉัย เมื่อทราบสาเหตุของโรคแล้วจะได้รักษาได้ถูกจุดและหายจากโรคได้เร็วขึ้น
    สำหรับใครที่กลัวจะเกิดอาการเท้าบวม สามารถป้องกันตัวเองได้หลายทาง เช่น
    – ออกกำลังกายวันละ 30 นาทีเพื่อเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนเลือด โดยให้เน้นการออกกำลังกายประเภทเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อและหลอดเลือดให้แข็งแรง เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง ขี่จักรยาน เป็นต้น
    – รับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซีและฟลาโวนอยด์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของผนังหลอดเลือดฝอย และลดการบริโภคอาหารที่มีรสเค็ม 
    – ไม่ควรยืนนิ่งๆ อยู่กับที่เป็นเวลานานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
เพื่อดันให้เลือดไหลกลับไปเลี้ยงอวัยวะด้านบนของร่างกาย และไม่ควรสวมรองเท้าสูงที่สูงมากเกินไปหรือรองเท้าที่คับจนเกินไป
    – ควบคุมไม่ให้น้ำหนักตัวมากเกินไป
    – หลีกเลี่ยงไม่ให้ขาสัมผัสกับความร้อน เช่น อาบน้ำที่ร้อนเกินไป ยืนบนพื้นร้อนๆ อาบแดดนานๆ เป็นต้น
    – เมื่อกลับไปที่บ้านให้นอนยกเท้าสูงประมาณ 45 องศา จนกระทั่งรู้สึกสบายขึ้น จึงค่อยเปลี่ยนไปนอนท่าปกติดังเดิม
       
    อาการเท้าบวมเป็นโรคที่สามารถป้องกันและแก้ไขได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ หากต้องการเป็นคนที่มีสุขภาพดี ต้องรู้จักสังเกตตัวเองอยู่เสมอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ และหาวิธีป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยได้มากที่สุด เพียงเท่านี้ก็สบายใจหายห่วงได้แล้ว

------------------------------------------------------------------------------------
ติดตามเราเป็นเพื่อนเฟสบุค   http://www.facebook.com/HealthyThailandCenter    
ติดตามกูรูด้านสุขภาพทางไลน์   http://line.me/ti/p/%40HealthyThailand
สนใจสินค้าสุขภาพและความงาม  http://goo.gl/oogIL8

       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ทักทาย แนะนำ ติชม แสดงความคิดเห็น