ทำอย่างไรเมื่อไหล่หลุด
“ไหลหลุด” แค่พูดชื่ออาการก็เสียวสันหลังวาบแล้ว เพราะทุกคนรู้ดีว่า หัวไหล่เป็นข้อต่อที่ร่างกายเคลื่อนไหนมากที่สุด จะหยิบจับ เคลื่อนไหว หรือ ทำกิจกรรมต่างๆ ก็จำเป็นจะต้องอาศัยอวัยวะส่วนนี้ทั้งนั้น หากเกิดการหลุดของข้อไหล่ จึงส่งผลสำคัญให้ร่างกายบาดเจ็บ หรือ ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามที่ต้องการได้ วิธีการแก้ไขหรือป้องกันปัญหาไหล่หลุดซ้ำ จึงเป็นสิ่งที่คนที่เคยไหล่หลุด จำเป็นต้องศึกษาเอาไว้ให้ดี หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยไหล่หลุด ก็สามารถรับรู้เรื่องราวดังกล่าวนี้ได้เช่นกัน เพราะหากสามารถป้องกันปัจจัยเสี่ยงได้ก่อน ก็ย่อมจะเป็นวิธีการที่ปลอดภัยต่อชีวิตของเรามากกว่าเสมอ
อาการข้อไหล่หลุด คือ สภาวะที่หัวกระดูกต้นแขนหลุดออกจากเบ้า ซึ่งจากการเก็บข้อมูลของผู้ป่วย จะพบว่า กว่า 90% ของผู้ป่วยไหล่หลุด จะหลุดออกมาทางด้านหน้าเสียมากกว่า และเมื่อเกิดอาการเช่นนี้แล้ว ผู้ป่วยก็จะมีอาการปวดไหล่หรือแขนเป็นอย่างมาก ไม่สามารถขยับแขนได้ หรือบางรายอาจเกิดอาการแขนชาเนื่องจากเส้นประสาทข้อไหล่ได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งนำมาซึ่งความเจ็บปวดรวดร้าวที่ต้องการการรักษาโดยด่วย
โดยมากจะพบว่าผู้ป่วยที่เกิดอาการไหล่หลุดจะมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น การถูกกระชากที่แขน การถูกกระแทกอย่างแรง การเกิดโรคลมชัก การถูกไฟฟ้าช็อต ซึ่งล้วนเป็นอาการที่มีผลให้แขนถูกกระชากอย่างรวดเร็ว จนอาจเป็นผลให้แขนหลุดออกจากเบ้าได้ ในขณะที่บางกรณีอาการเช่นนี้ก็อาจเกิดขึ้นจากโรคอื่นได้เช่นกัน เช่น ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ หรือ ภาวะที่เส้นเอ็นทั่วร่างกายหย่อนแต่กำเนิด เป็นต้น และแน่นอนว่า ใครที่เคยเกิดอาการข้อไหล่หลุดครั้งหนึ่งแล้ว ก็ย่อมจะมีโอกาสที่หัวไหล่จะหลุดซ้ำได้อีกเรื่อยๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า อาการไหล่หลุดนี้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดตลอดไปได้
โดยมากจะพบว่าผู้ป่วยที่เกิดอาการไหล่หลุดจะมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น การถูกกระชากที่แขน การถูกกระแทกอย่างแรง การเกิดโรคลมชัก การถูกไฟฟ้าช็อต ซึ่งล้วนเป็นอาการที่มีผลให้แขนถูกกระชากอย่างรวดเร็ว จนอาจเป็นผลให้แขนหลุดออกจากเบ้าได้ ในขณะที่บางกรณีอาการเช่นนี้ก็อาจเกิดขึ้นจากโรคอื่นได้เช่นกัน เช่น ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ หรือ ภาวะที่เส้นเอ็นทั่วร่างกายหย่อนแต่กำเนิด เป็นต้น และแน่นอนว่า ใครที่เคยเกิดอาการข้อไหล่หลุดครั้งหนึ่งแล้ว ก็ย่อมจะมีโอกาสที่หัวไหล่จะหลุดซ้ำได้อีกเรื่อยๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า อาการไหล่หลุดนี้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดตลอดไปได้
มาถึงวิธีการรักษากันบ้างว่าควรทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการไหล่หลุด สิ่งสำคัญที่ควรทำคือ การพยายามอยู่นิ่งๆ และรีบไปพบแพทย์โดยด่วน ห้ามเด็ดขาดกับการพยายามดึงหัวไหล่ให้เข้าที่เอง เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บมากขึ้นไปกว่าเดิม ดีไม่ดีอาจแถมอาการกระดูกหักพ่วงเข้าไปด้วย ดังนั้น วิธีการที่ถูกต้องที่สุด จึงเป็นการส่งตัวผู้ป่วยมาให้แพทย์ตรวจก่อนเสมอ ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีการรักษาโดยให้ผู้ป่วยทานยาแก้ปวด จากนั้นจะใช้วิธีการพิเศษในการดึงข้อไหล่ให้เข้าที่ จากนั้นจะทำการยึดข้อไหล่ให้ตรึงนิ่งด้วยผ้าคล้องแขน ซึ่งจะทำทิ้งไว้ประมาณ 2 -3 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดแล้ว ก็จะเริ่มทำการกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้บริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ที่ไม่ได้ใช้งานมาในระยะหนึ่งแบบถูกวิธี ซึ่งวิธีการกายภาพจำเป็นต้องทำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้คนไข้สามารถกลับมาใช้งานแขนและหัวไหล่ได้อย่างเป็นปกติอีกครั้ง
การประคบเย็น ก็เป็นอีกวิธีการที่ช่วยลดความเจ็บปวดและเร่งการสมานแผลได้เช่นกัน วิธีการก็ทำไม่ยาก เพียงแค่ใช้ก้อนน้ำแข็งห่อผ้ามาประคบบริเวณไหล่ครั้งละ 5-10 นาที ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เป็นเวลาประมาณ 1-2 วัน ความเย็นจะเป็นเร่งการสมานตัวของเนื้อเยื่อ และ ลดปวดอาการปวดได้เป็นอย่างดี
แต่สำหรับในผู้ป่วยบางราย อาจพบอาการข้อไหล่หลุดซ้ำบ่อยมากๆ เนื่องจากโครงสร้างของข้อไหล่ไม่มั่นคงแข็งแรง การทำกิจกรรมบางอย่างของผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาจมีความเสี่ยงให้หัวไหล่หลุดเองได้บ่อยๆ แต่ส่วนใหญ่ก็จะพบว่าหัวไหล่ที่หลุดไปจะสามารถเคลื่อนที่กลับได้เองเสมอ ดังนั้น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตให้มากกว่าเดิม เพราะแค่เพียงการยกแขนในระดับที่สูงกว่าหัวไหล่ ก็อาจเป็นเหตุให้หัวไหล่หลุดเองได้แล้ว ซึ่งการที่หัวไหล่หลุดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็คงจะสร้างปัญหารบกวนชีวิตการเป็นอยู่ของคุณได้อย่างแน่นอน วิธีการแก้ไขปัญหาท่ดีที่สุด จึงเป็นการพยายามสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ เพื่อให้ข้อไหล่เกิดความกระชับรับกับเบ้ามากขึ้น แต่ถ้าหากยังไม่ดีขึ้น ก็จำเป็นจะต้องผ่าตัดซ่อมแซมขอบกระดูกอ่อน เยื่อหุ้มข้อ หรือ เสริมกระดูกส่วนที่แตก ซึ่งพบว่าการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด สามารถป้องกันสาเหตุของการเกิดข้อไหล่หลุดซ้ำ ได้ถึงประมาณ 90 % ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้มักจะใช้วิธีการผ่าตัด เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไป
หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมหัวไหล่ไปแล้ว ก็ต้องมีการดูแลหลังการผ่าตัดด้วยวิธีที่ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำในช่วง 6 สัปดาห์แรก หลังจากนั้น ผู้ป่วยก็จะต้องได้รับการกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องต่ออีก 3 เดือน ซึ่งหากผ่านการรักษาตามขั้นตอนที่กล่าวมานี้แล้ว ก็จะช่วยให้คุณกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้อีกครั้งหนึ่ง
การแพทย์ในยุคปัจจุบันมีความก้าวล้ำนำสมัยไปมาก ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยร้ายแรงใดๆ ก็สามารถใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการรักษาให้หายได้ทั้งนั้น เพียงแต่คุณควรที่จะรู้รายละเอียดถึงอาการที่เป็นอย่างแน่ชัด เพื่อที่จะได้นำเอาเทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นๆ ไปรักษาได้อย่างถูดจุด
ซึ่งหากได้รับการรักษาที่เป็นไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และได้รับความร่วมมือในการดูแลบาดแผลหลังการรักษาเป็นอย่างดี ก็จะช่วยให้คุณสามารถหายจากอาการเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว และไม่กลับมาเป็นซ้ำให้ต้องทรมานกายและใจอีกอย่างแน่นอน
ซึ่งหากได้รับการรักษาที่เป็นไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และได้รับความร่วมมือในการดูแลบาดแผลหลังการรักษาเป็นอย่างดี ก็จะช่วยให้คุณสามารถหายจากอาการเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว และไม่กลับมาเป็นซ้ำให้ต้องทรมานกายและใจอีกอย่างแน่นอน
------------------------------------------------------------------------------------
ติดตามเราเป็นเพื่อนเฟสบุค http://www.facebook.com/HealthyThailandCenter
ติดตามกูรูด้านสุขภาพทางไลน์ http://line.me/ti/p/%40HealthyThailand
สนใจสินค้าสุขภาพและความงาม http://goo.gl/oogIL8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น