*** สามารถติดตามเคล็ดลับสุขภาพดีดีที่ไลน์แอดไอดี @HealthyThailand หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40healthythailand อย่าลืมคลิกมีกิจกรรมสนุกๆรับของรางวัลด้วยน้า ^

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

จับเม้าส์อย่างไรให้ถูกวิธี

จับเม้าส์อย่างไรให้ถูกวิธี

พนักงานออฟฟิตที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อาจเป็นอาชีพที่หลายคนอิจฉา เพราะได้ทำงานในห้องแอร์เย็นๆทั้งวัน แต่ในความโชคดีหรือความสะดวกสบายเหล่านี้ ก็มีโรคภัยร้ายแรงแอบแฝงอยู่มากมาย หรือที่เรียกว่า “โรคออฟฟิตซินโดรม” นั่นเอง ซึ่งนอกจากจะมีอาการปวดเอว ปวดหลัง ปวดคอแล้ว ยังมีอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นบริเวณข้อมือ เนื่องมาจากการ “จับเม้าส์ ผิดวิธีด้วย
    เม้าส์ เป็นอุปกรณ์ในการควบคุมและบังคับทิศทางในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยให้การใช้งานสะดวกและคล่องตัวกว่าการใช้งานทัชแพดบนโน้ตบุ๊ก แต่ปัญหาที่หลายๆคนประสบเมื่อใช้งานเม้าส์ติดต่อกันนานๆ ก็คือ อาการปวดเมื่อยข้อมือ รวมไปจนถึงบาดเจ็บเอ็นข้อมือ” ซึ่งเกิดจากการใช้เม้าส์ไม่ถูกวิธี ถ้าไม่อยากเป็นเช่นนี้ มาเรียนรู้อันตรายและวิธีการจับเม้าส์ให้ถูกวิธีกันดีกว่าค่ะ 
จับเม้าส์อย่างไรให้ถูกวิธี
อันตรายจากการจับเม้าส์
    หากพูดถึงอันตรายที่เกิดจากการจับเม้าส์แล้ว ขอยกตัวอย่างโรคที่สำคัญซึ่งก็คือ โรคปวดข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome – CST )” ให้ฟังกันค่ะ โรคนี้เป็นโรคที่พบบ่อยมากโรคหนึ่งในกลุ่มวัยกลางคนถึงคนสูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดจากการใช้มือทำงานซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลาย ๆ ปี เช่น การพิมพ์ดีด การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ข้อมือช้ำ กระดูกหัก ข้ออักเสบ และจากโรคทั่วไปของร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ เนื้องอกบริเวณข้อมือ เป็นต้น
    โรคนี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด ชา และ อ่อนกำลังที่มือ อาการเริ่มต้นมักจะเป็นน้อย ๆ แต่จากนั้นจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้น เริ่มด้วยอาการปวดที่ข้อมือและมักจะปวดมากเวลากลางคืน บางครั้งปวดอย่างหนักจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อลุกขึ้นมาสะบัดมือสักพัก พอเป็นมากขึ้นจะเริ่มมีอาการชาที่นิ้วมือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง ทางด้านอุ้งมืออาจมีความรู้สึกเหมือนนิ้วหนาและหนัก กล้ามเนื้อฝ่อ ถ้าเป็นนาน 4 – 5 เดือน อาการเหล่านี้มักจะเป็นตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องแต่เนิ่น ๆ ก่อน 6 เดือน อาการเหล่านี้ก็จะหายขายได้

จับเม้าส์อย่างไรให้ถูกวิธี
ภาพจาก : http://www.tsupaman.com/2015/06/how-to-use-mouse จับเม้าส์อย่างไรให้ถูกวิธี

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ใช้เม้าส์

    1. วางเม้าส์ให้ถูกตำแหน่ง

    ถ้าคุณวางเม้าส์ไกลมือจนเกินไป ท่านั่งจะไม่สมดุล เพราะคุณจะต้องเอื้อมแขนไปจับเม้าส์ในระยะที่ไกลออกไป ซึ่งจะส่งผลทำให้ปวดเมื่อยไหล่จากการเอื้อมสุดแขน และอาจจะส่งไปถึงอาการปวดคอด้วย นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้โต๊ะวางคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (เช่น 80 เซนติเมตร) เพราะอาจมีแต่พื้นที่วางคีย์บอร์ด แต่ไม่มีพื้นที่วางเม้าส์ ทำให้ต้องวางเม้าส์ไว้ที่อื่นที่ไกลออกไป และเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดแขน ปวดไหล่ หรือปวดคอได้ ทั้งนี้ ควรเลือกวางเม้าส์ข้างซ้ายหรือขวาตามที่ถนัด ใกล้คีย์บอร์ด อยู่ในองศาที่จับถนัดมือโดยไม่ห่อไหล่ และพยายามวางมุมของเม้าส์ให้เหมาะสมกับการวางแขน แต่ต้องสามารถใช้งานได้สะดวกทั้งแป้นพิมพ์และเม้าท์

    2. เลือกเม้าส์ที่เหมาะกับสรีระข้อมือ 

    สังเกตได้ว่าเม้าส์ที่วางจำหน่ายในท้องตลาดไม่ได้มีแค่ขนาดเดียว คุณสามารถเลือกได้ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ซึ่งพิจารณาให้เหมาะสมกับข้อมือของเรา ดังนั้น ก่อนซื้อก็ให้ทดลองจับเม้าส์ดูก่อน ทั้งนี้ มีเม้าส์บางรุ่นที่เป็นมินิเม้าส์แต่สามารถใส่หน้ากากครอบเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาให้กลายเป็นเม้าส์ใหญ่ได้ ลองเลือกเอาตามความชอบได้เลยค่ะ


    3. เลือกความละเอียด (DPI) ของเม้าส์

    การตั้งค่า DPI ของเม้าส์มีผลต่ออาการปวดเมื่อยข้อมือเป็นอย่างมาก เพราะหากเราเลือกเม้าส์ที่มี DPIสูงๆ ลูกศรเม้าส์ก็จะวิ่งไวมาก แต่ถ้าปรับ DPI ต่ำ ก็ต้องออกแรงเลื่อนเม้าส์เร็วและแรงขึ้น ดังนั้น จึงควรกำหนดความเร็วของลูกศรเม้าส์ให้เหมาะพอดี ซึ่งค่าโดยปกติจะอยู่ 800DPI

    4. เลือกใช้อุปกรณ์ควบคุมการใช้งานลูกศรแทนเม้าส์ 

    อุปกรณ์นี้จะช่วยลดการเคลื่อนไหวของข้อมือและแขนได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น แทร็คบอล (Trackball) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยลดการขยับและเคลื่อนไหวหัวไหล่ ลดระยะการบิดไหล่ เพียงแค่ใช้นิ้ว อุ้งมือ และข้อมือบังคับแทร็คบอล หรืออาจใช้เป็นเม้าส์บางรุ่นที่มีการใช้งานคล้ายกับจอยสติ๊ก เป็นต้น

    5. พิจารณาการใช้งาน

หากคุณไม่แน่ใจว่าควรจะซื้อเม้าส์แบบไหน ให้พิจารณาก่อนว่างานหลักๆที่คุณใช้นั้น เน้นใช้งานด้านใดเช่น ทำงานเอกสาร ใช้งานอินเทอร์เน็ต โซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านบราวเซอร์ เล่นเกมส์บน Facebook หรือเล่นเกมส์ออนไลน์ออฟไลน์ เพราะการตอบสนองของเม้าส์สำหรับงานแต่ละอย่างนั้นไม่เหมือนกัน 


    การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุดต้องพยายามอย่าใช้ข้อมือเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ นานเกินไป เช่น การใช้ข้อมือพิมพ์ดีด การใช้คีมหยิบจับอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ซ้ำ ๆ
หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำแล้วปวด เป็นต้น และพยายามใช้มือด้วยท่าที่ถือข้อมือตรง ไม่งอมาก หรืออาจใช้ที่ดามข้อมือช่วย ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนการใช้สลับทั้งมือซ้ายและขวา เพื่อพักการใช้มือเป็นครั้งคราว แต่ถ้าปวดหนักจริงๆก็ให้ประคบเย็นบริเวณที่ปวดนานครั้งละ 30 นาที และควรเว้นช่วงในการประคบมากกว่า 30 นาทีแล้วจึงประคบใหม่อีกครั้ง รวมถึงการรักษาแนวทางอื่น เช่น การรับประทานยาแก้อักเสบ
การทำกายภาพบำบัด
การฉีดยา หรือการผ่าตัดเส้นพังผืดกดเส้นประสาท ซึ่งการรักษาก็ต้องขึ้นอยู่กับความหนักหน่วงของอาการที่คุณเป็นอยู่นั่นเอง

------------------------------------------------------------------------------------
ติดตามเราเป็นเพื่อนเฟสบุค   http://www.facebook.com/HealthyThailandCenter    
ติดตามกูรูด้านสุขภาพทางไลน์   http://line.me/ti/p/%40HealthyThailand
สนใจสินค้าสุขภาพและความงาม  http://goo.gl/oogIL8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ทักทาย แนะนำ ติชม แสดงความคิดเห็น