มังคุดนึ่ง…กินให้ถูกวิธีช่วยรักษาโรคได้จริง
ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารและผลหมากรากไม้นานาชนิด ซึ่งอาหารต่างๆเหล่านี้ก็ไม่ได้มีดีเพียงแต่ความอร่อยเท่านั้น แต่ผลไม้เหล่านี้ยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมายที่คุณเองอาจจะยังไม่เคยรับรู้ถึงข้อดีของมันมาก่อน หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างจากที่บรรพบุรุษบอกต่อๆกันมา แต่ไม่ทราบถึงข้อดีจริงๆของมัน วันนี้เราจึงอยากจะขอมาอธิบายถึงข้อดีของราชินีผลไม้ที่มีชื่อว่า “มังคุด” ในผลไม้นี้ชนิดนี้มีอะไรดีดีแฝงอยู่บ้าง ตามมาดูกันได้เลยค่ะ
มังคุด เป็นผลไม้ที่อยู่คู่คนไทยมานาน และถือเป็นราชินีแห่งผลไม้ไทย ทั้งนี้ก็คงเป็นเพราะว่า มังคุดเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาก มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ และมีรสชาติที่หวานอร่อย แต่นอกเหนือจากคุณประโยชน์ที่ว่ามานี้แล้ว มังคุดยังช่วยต้านโรคได้อีกด้วย จะทำอะไรได้บ้างเรามาดูกัน
แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานมังคุดสุกเป็นผลไม้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากกากใยของเนื้อมังคุดที่ช่วยในการขับถ่าย และยังได้สารอาหารทั้งวิตามินและเกลือแร่อื่นๆหลายชนิด เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของมังคุดไม่ได้มีอยู่แค่เนื้อในของมังคุดที่เราใช้เป็นอาหารเท่านั้น แต่ที่เปลือกของมังคุดที่เราโยนมันทิ้งไป ก็มีประโยชน์มากมายที่สามารถนำมาใช้บำรุงร่างกายได้เช่นกัน เพียงแต่เราจำเป็นต้องทานให้ถูกวิธี และทานในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้นเอง
ปัจจุบันคนไทยมักนิยมวิธีการดูแลสุขภาพที่หลากหลาย การนำเอามังคุดมาต้มหรือนึ่งเพื่อได้ประโยชน์จากเปลือกมังคุดก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมกัน ทำให้มีการแชร์วิธีนี้ในโลกสังคมออนไลน์ และมีผู้พูดถึงกันอย่างมาก เพราะเชื่อกันว่ากินมังคุดด้วยวิธีนี้จะช่วยป้องกันได้สารพัดโรค และช่วยให้ผิวพรรณสวยผ่องใส
หากกล่าวถึงสารอาหารที่พบในมังคุด จะพบว่า ในเนื้อเปลือกของมังคุดจะมีสารแซนโทนมากกว่า 40 ชนิด หนึ่งในสารดังกล่าวมี “สารแอลฟา-แมงโกสติน” ซึ่งเป็นผลึกสีเหลืองอยู่ภายในเนื้อเปลือก เป็นสารแซนโทนตัวหนึ่งในกลุ่มสารแซนโทนที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่งละลายได้ในน้ำร้อน นอกจากสารในกลุ่มสารแซนโทนแล้ว ในเนื้อเปลือกผลมังคุดยังมีกลุ่ม “สารแอนโทไซยานิและกลุ่มสารแทนนิน“ ซึ่งเป็นสารพวกโพลีฟีนอล เมื่อสารต่างๆรวมตัวเข้ากันแล้ว ก็จะมีคุณสมบัติที่ดีอย่างที่กล่าวไว้แล้วนั่นเอง
การต้ม หรือ การนึ่ง เป็นการทำเพื่อให้สารต่างๆ ที่มีอยู่ในเนื้อเปลือกมังคุดซึมออกมา และแม้ว่าการสกัดสารแบบนี้อาจจะได้สารที่เป็นประโยชน์ไม่มากนัก แต่ก็มากเพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพได้แล้ว การนึ่งมังคุดสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ล้างมังคุดให้สะอาดแล้วนำไปนึ่งในซึ้งนานประมาณ 20 นาที เมื่อครบกำหนดก็สามารถนำมารับประทานได้เลยทันที
หากกล่าวถึงสารอาหารที่พบในมังคุด จะพบว่า ในเนื้อเปลือกของมังคุดจะมีสารแซนโทนมากกว่า 40 ชนิด หนึ่งในสารดังกล่าวมี “สารแอลฟา-แมงโกสติน” ซึ่งเป็นผลึกสีเหลืองอยู่ภายในเนื้อเปลือก เป็นสารแซนโทนตัวหนึ่งในกลุ่มสารแซนโทนที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่งละลายได้ในน้ำร้อน นอกจากสารในกลุ่มสารแซนโทนแล้ว ในเนื้อเปลือกผลมังคุดยังมีกลุ่ม “สารแอนโทไซยานิและกลุ่มสารแทนนิน“ ซึ่งเป็นสารพวกโพลีฟีนอล เมื่อสารต่างๆรวมตัวเข้ากันแล้ว ก็จะมีคุณสมบัติที่ดีอย่างที่กล่าวไว้แล้วนั่นเอง
การต้ม หรือ การนึ่ง เป็นการทำเพื่อให้สารต่างๆ ที่มีอยู่ในเนื้อเปลือกมังคุดซึมออกมา และแม้ว่าการสกัดสารแบบนี้อาจจะได้สารที่เป็นประโยชน์ไม่มากนัก แต่ก็มากเพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพได้แล้ว การนึ่งมังคุดสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ล้างมังคุดให้สะอาดแล้วนำไปนึ่งในซึ้งนานประมาณ 20 นาที เมื่อครบกำหนดก็สามารถนำมารับประทานได้เลยทันที
ทั้งนี้ อย. ได้มีการให้ข้อมูลว่า ในมังคุดมีสารแซนโทน (xanthones) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ต้านมะเร็ง และแก้แพ้ อย่างไรก็ตาม ยังขาดข้อมูลการทดลองทางคลินิกที่สนับสนุนว่าการบริโภคมังคุดสามารถมีฤทธิ์รักษาโรคดังกล่าวได้จริง จึงได้เตือนประชาชนผู้บริโภคว่า อย่าหลงเชื่อการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โดยเฉพาะการหวังผลในการบำบัดรักษา หรือบรรเทาอาการของโรค
พูดถึงแต่ข้อดีของมังคุดแต่ด้านเดียวก็คงไม่ได้ เพราะหากเราเลือกมังคุดมารับประทานผิดวิธี ก็มีผลให้เราได้รับอันตรายจากมันได้เช่นกัน
ประการที่หนึ่งคือ มังคุดที่ใช้ควรจะปลอดยาฆ่าแมลงหรือเป็นมังคุดออร์แกนิก มิเช่นนั้น สิ่งที่เราจะได้รับไปคงไม่ใช่ประโยชน์ แต่กลับเป็นยาฆ่าแมลงที่แสนอันตรายแทน
ประการที่สอง คือ แม้ว่าในมังคุดจะมีสารแซนโทน (Xanthone) ในปริมาณมาก และจะมีส่วนในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง และอาการแพ้ต่าง ๆ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในการสนับสนุนว่ามังคุดจะสามารถรักษาอาการต่างๆเหล่านี้ได้จริง และถึงแม้ยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น ทั้งนี้ ก็ไม่ได้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นกับทุกคน และแต่ละคนก็มีอาการหนักเบาไม่เท่ากันด้วย
อันตรายประการสุดท้ายของมังคุด ก็คือ ในมังคุดยังมีสารแทนนิน (Tannin) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาว จนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติได้ด้วย
ดังนั้น การรับประทานมังคุดให้ได้ผลที่ดีที่สุด คือ การรับประทานอย่างมีสติ พร้อมด้วยการรับประทานอาหารอื่นๆให้ครบทั้ง 5 หมู่ หากเป็นไปได้ควรเลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกัน ไม่อย่างนั้นผลไม้ที่มีประโยชน์มากมาย ก็อาจจะกลายเป็นโทษมหันต์ต่อร่างกายไปได้เช่นกัน ส่วนใครที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวานหรือโรคอ้วน ก็ควรควบคุมชนิดและปริมาณการรับประทานให้ดี จะได้มีสุขภาพดีไปได้อย่างยาวนาน
ดังนั้น การรับประทานมังคุดให้ได้ผลที่ดีที่สุด คือ การรับประทานอย่างมีสติ พร้อมด้วยการรับประทานอาหารอื่นๆให้ครบทั้ง 5 หมู่ หากเป็นไปได้ควรเลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกัน ไม่อย่างนั้นผลไม้ที่มีประโยชน์มากมาย ก็อาจจะกลายเป็นโทษมหันต์ต่อร่างกายไปได้เช่นกัน ส่วนใครที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวานหรือโรคอ้วน ก็ควรควบคุมชนิดและปริมาณการรับประทานให้ดี จะได้มีสุขภาพดีไปได้อย่างยาวนาน
------------------------------------------------------------------------------------
ติดตามเราเป็นเพื่อนเฟสบุค http://www.facebook.com/HealthyThailandCenter
ติดตามกูรูด้านสุขภาพทางไลน์ http://line.me/ti/p/%40HealthyThailand
สนใจสินค้าสุขภาพและความงาม http://goo.gl/oogIL8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น